หน้าหลัก
มีนาคม 3, 202414 2

การดูแลนักเรียนจำนวนมากในชั้นเรียนย่อมเป็นสิ่งที่ยากพอสมควรสำหรับคุณครู ที่จะสามารถทำความเข้าใจกับเด็กๆแต่ละคนได้ ดังนั้นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนจึงมีความสำคัญอย่างมาก แต่จะสร้างความผูกพันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างไรกัน? ลองใช้เคล็ดลับ 6 ข้อนี้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

1. เชื่อว่านักเรียนทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้
ความเชื่อของคุณครูในตัวนักเรียนนั้น จะส่งผลต่อการปฏิบัติต่อเด็กแต่ละคนในห้องเรียนโดยไม่รู้ตัว ด้วยเหตุนี้คุณครูต้องเชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้ และคุณครูต้องคาดหวังให้พวกเขาทำเช่นนั้น การแสดงความเชื่อเหล่านี้ให้นักเรียนเห็นอย่างชัดเจน แสดงว่าคุณคาดหวังพฤติกรรมที่ดี ความพยายาม และการปรับปรุงจากเด็กทุกคนในห้องเรียนของคุณครู จะเป็นตัวผลักดันพวกเขาให้บรรลุผลมากกว่าที่พวกเขาคิดว่าจะเป็นไปได้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
2. ทำความรู้จักกับนักเรียน
ใช้เวลาในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว ภูมิหลัง ความสนใจ สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ ลองทำแบบสอบถามเพื่อทำความรู้จักนักเรียนในชั้น รวมถึงการพูดคุยกับนักเรียนในช่วงต้นคาบเรียน หรือตอนท้ายคาบเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเด็กๆ ตลอดจนการให้นักเรียนจดบันทึกประจำวันมาส่ง และตอบกลับเป็นประจำ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
3. กล่าวทักทายนักเรียนทุกคนเป็นประจำ
การพูดคุยระหว่างในชั้นเรียนอาจสัมฤทธิ์ผลได้ยากด้วยเวลาอันจำกัด อาจลองเปลี่ยนเป็นใช้เวลาช่วงอื่นๆ สั้นๆ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างการยืนที่ประตูขณะที่นักเรียนเข้าและจบชั้นเรียน แล้วกล่าวทักทายนักเรียนทุกคน คุณครูอาจเคยเห็นไวรัลการทักทายกับเด็กๆ ในโซเชียล เช่น การจับมือเป็นพิเศษกับนักเรียนแต่ละคน หรืออนุญาตให้เด็กๆ เลือกว่าต้องการทักทายอย่างไร (เช่น การไฮไฟว์ ชนกำปั้น หรือยิ้ม)
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้เวลากับเด็กทุกคนอย่างเต็มที่ สบตา ยิ้มแย้ม ทักทาย และเรียกชื่อพวกเขา แม้ว่าจะดูเป็นจุดเล็กๆ แต่ความสัมพันธ์ที่ดีจะเริ่มต้นขึ้นได้ไม่ยาก
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
4. หัวเราะกับนักเรียน
อารมณ์ขันเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์กับเด็กๆ นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความสนใจในการเรียนรู้ และอยากมีส่วนร่วมมากขึ้น แม้ว่าอารมณ์ขันจะไม่มีความสำคัญในห้องเรียน แต่การแบ่งปันเสียงหัวเราะ จะส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวกกับนักเรียนได้อย่างง่ายดาย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
5. ให้นักเรียนได้เลือก
การให้นักเรียนได้มีสิทธิ์เลือกทำงานที่ได้รับมอบหมายตามสิ่งที่ถนัดย่อมเป็นสิ่งที่ดีกับตัวนักเรียน เพราะเขาสามารถแสดงทักษะ ความสามารถของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ เช่น การเขียนบรรยายเรื่องราว ร้องเพลง หรืองานศิลปะ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมความสามารถด้านนั้นๆ ให้นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกอีกด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
6. ยอมรับในตัวนักเรียน และข้อผิดพลาด
นักเรียนแต่ละคนย่อมมีนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน การปฏิบัติต่อนักเรียนทุกคนด้วยการให้เกียรติเขาและความเมตตาอย่างเท่าเทียม อย่าให้นักเรียนล้อเลียนหรือดูหมิ่นกันในห้องเรียน สร้างสภาพแวดล้อมที่เด็กทุกคนรู้สึกสบายใจ และพิจารณาว่าพวกเขาต้องการอะไร? พวกเขาขาดทักษะด้านไหน? จะช่วยส่งเสริมให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้อย่างไรบ้าง?
นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่าความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และปลูกฝังความเชื่อนี้ให้กับนักเรียน เพื่อให้เขาไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่มีความสามารถ เมื่อพวกเขาทำผิดพลาด ให้ถามพวกเขาว่า “เราได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งนั้น”
ที่มา: tuiopay.com
🙏



เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
version 1.0.5-0793c48d